SWOT Analysis

SWOT Analysis วิเคราะห์จุดต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น

เรื่องของการวิเคราะห์ตนเองเพื่อนำไปสู่การพัฒนานั้น ในบางครั้งเรามักจะลืมคำนึงถึงเรื่องของแนวคิดและกลยุทธ์ในการวิเคราะห์ SWOT Analysis ซึ่งหากเราไม่วางแผนให้ดี อาจจะทำให้การวิเคราะห์นั้นๆ ขาดประสิทธิภาพได้ เนื่องจากขาดความคิดในการวิเคราะห์ตนเองในด้านลบ และเราอาจมองไม่เห็นข้อเสียของตนเอง จนไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาตนเองได้ตามกรอบที่วางไว้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงต้องมีสวอท

สวอทเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สำหรับการวางแผนกลยุทธ์เบื้องต้น สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกบริษัท โดยสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมไปถึงการวางแผนธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต ซึ่งประโยชน์คือจะช่วยแก้ไขปัญหาและความลดเสี่ยงที่อาจเกิดผลเสียต่อบริษัท แถมยังเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นอีกด้วย

SWOT ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  • S – Strength (จุดแข็ง)
  • หมายถึง เรามีข้อดีในด้านใดบ้างที่สามารถดึงขึ้นมาเป็นจุดแข็งของตนเอง โดยสามารถวิเคราะห์ถึงทักษะและความสามารถของเราว่าโดดเด่นทางด้านไหน อีกทั้งยังควรหาวิธีในการพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปสู่การฝึกฝนทักษะของตลอดเวลา ซึ่งนี่จะเป็นตัวช่วยในการเสริมศักยภาพของเราให้แข็งแกร่งอยู่เสมอ
  • W – Weakness (จุดอ่อน)
  • ในส่วนนี้ให้เราลองมาหาจุดอ่อนในตัวเอง ว่ามีข้อด้อยตรงไหนบ้าง รวมไปถึงสิ่งที่เราไม่ถนัด ไม่ชอบ หรือทำได้ไม่ดีนัก เพื่อหาหนทางนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข ยาวไปจนถึงขั้นตอนของการพัฒนาตนเอง เพื่อรีบขจัดจุดอ่อนให้ตัวเองจุดนั้นออกไปให้เร็วที่สุด
  • O – Opportunities (โอกาส)
  • ในส่วนนี้ถือเป็นปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก ที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญให้ธุรกิจหรือการทำงานมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้ และช่วยส่งเสริมการพัฒนาตัวเองให้เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพแบบอัดแน่น เพราะฉะนั้นหากมีโอกาสเข้ามาหาเราแล้ว เราจึงควรรีบคว้าไว้
  • T – Threats (อุปสรรค)
  • อีกหนึ่งปัจจัยภายนอกที่ต้องผ่านการวิเคราะห์เช่นกัน เพราะหนทางสู่ความสำเร็จมักไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ซึ่งอุปสรรคสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ รวมไปถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นแล้วส่งผลเสียต่อธุรกิจ แถมยังทำให้เราไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อีกด้วย

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ 

หากในแต่ละบริษัทร่วมกันทำการวิเคราะห์จะให้ช่วยพนักงานแต่ละคนได้มีส่วนร่วมและทำความรู้จักกันให้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถโชว์ไอเดียและมุมมองต่อธุรกิจของแต่ละคนได้อย่างเต็มที่ เพราะแน่นอนว่าในแต่ละคนย่อมมีมุมมองและความเห็นที่แตกต่างกัน สำหรับในแง่รายบุคคลนั้น ก็ยังมีส่วนช่วยให้เราได้โฟกัสกับหน้าที่การงานของเราเอง ได้ทบทวนถึงบริษัทหรือธุรกิจของเราให้เข้าใจได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น 

ข้อจำกัดของการวิเคราะห์

แม้ว่าการวิเคราะห์อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อจำกัดเอาเสียเลย โดยการทำสวอทถือเป็นการวางรากฐานให้จุดเริ่มต้นของธุรกิจเท่านั้น แต่ไม่สามารถลงรายละเอียดหรือเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ ดังนั้นเมื่อเราเริ่มต้นได้ดีแล้ว เราก็ควรที่จะเก็บข้อมูลเพิ่มเติมให้มากที่สุด เพื่อที่จะต่อยอดจากวิเคราะห์ครั้งนี้ นำไปสู่หนทางแห่งการประสบความสำเร็จ

วิธีการวิเคราะห์

การดำเนินการวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพนั้น ควรเป็นการร่วมมือกันวิเคราะห์จากทุกๆ ฝ่ายในบริษัท ไม่ว่าจะเป็น หัวหน้าองค์กร ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย รวมไปถึงฝ่ายอื่นๆ ในบริษัท เพื่อช่วยกันรวบรวมไอเดีย ก่อนจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่สามารถใช้งานได้จริง ผสานกับมุมมองจากหลายๆ ฝ่ายที่แตกต่างกันออกไป

นอกจากนี้ความเห็นของลูกค้าก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจก้าวสู่หนทางแห่งความสำเร็จเช่นเดียวกัน อีกทั้งการวิเคราะห์ควรเริ่มต้นประเมินจากสถานการณ์ปัจจุบัน และควรจัดการวิเคราะห์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 

แนวทางและขั้นตอนในการวิเคราะห์

ว่าด้วยเรื่องของขั้นตอนในการวิเคราะห์กันบ้าง โดยหลักสำคัญคือการทำงานกันเป็นทีม เริ่มต้นจากการรวบรวมคนในแต่ละตำแหน่งจากหลากหลายแผนกมาร่วมประชุมกัน ซึ่งเราจะได้ไอเดียเชิงลึกมาจากหลายทาง เพราะในแต่ละแผนกหรือแต่ละบุคคล ย่อมมีข้อมูลเชิงลึกที่แตกต่างกัน

ต่อมาก็ถึงขั้นตอนของการรวบรวมไอเดีย โดยอาจจะใช้การเขียนแนวคิดของแต่ละคนลงในไวท์บอร์ด หรือเขียนโพสท์อิทแล้วแปะรวบรวมไว้บนกระดาน  จากนั้นจึงค่อยเบรนสตรอมกันอีกหนึ่งรอบ เพื่อหาผู้เข้ารอบจากไอเดียที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด หรืออาจจะช่วยกันต่อยอดจากไอเดียของแต่ละคนก็ได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.